กล้วย
กล้วยผลไม้มากคุณประโยชน์ มนุษย์เราใช้ประโยชน์จากกล้วยมาช้านานแล้ว ไม่ว่าจะรับประทานหรือใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ นอกจากคุณประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ กล้วยยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งมีสรรพคุณป้องกันและรักษาโรคได้หลากหลาย กล้วยน้ำว้าจัดเป็นพืชในวงศ์มูซาซีอี้ (MUSACEAE) มีชื่อเรียกเป็นภาษาพื้นเมืองแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น กล้วยเป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ มีอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง เมื่อโตเต็มที่อาจจะมีความสูงสองถึงเก้าเมตร แต่ลำต้นที่เราเห็นกันนั้นแท้จริงแล้วเป็นลำต้นเทียม (pseudostem) ประกอบด้วยกาบใบที่อัดกันแน่น (หยวกกล้วย) ส่วนลำต้นที่แท้จริงของกล้วยจะเกิดเป็น เหง้าใต้ดิน (corm) ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวขนาดใหญ่ ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน ท้องใบสีนวล เส้นกลางใบใหญ่และแข็ง ก้านใบยาว ดอกของกล้วยออกเป็นช่อ (inflorescence) อยู่ที่ปลายยอด ลักษณะห้อยหัวลง สีแดงคล้ำ เรียกว่า ปลี (banana flower) เมื่อเปิดกาบปลีดูจะเห็นดอกเดี่ยวเรียงกัน ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อที่ 5-15 ของช่อดอกเป็นดอกตัวเมีย ส่วนปลายของช่อดอกเป็นดอกตัวผู้ อันเป็นความตั้งใจของธรรมชาติที่ไม่ต้องการให้เกิดการผสมพันธุ์กันเองของพ่อแม่ต้นเดียวกัน เพราะกว่าที่กาบปลีซึ่งคลุมดอกตัวผู้จะเปิดออก ดอกตัวเมียก็โรยไปหมดแล้ว ผลของกล้วยทั้งหมดบนก้านดอกรวม เรียกว่า เครือ (Bunch) ส่วนผลกล้วยแต่ละกลุ่ม แต่ละข้อ เรียกว่า หวี (hand) แต่ละผลเรียกว่า ผลกล้วย (finger) กล้วยเครือหนึ่งอาจจะมีจำนวนหวี 5-15 หวี และแต่ละหวีมีจำนวนผลตั้งแต่ 5-20 ผล ขนาด ของผลเมื่อโตเฉลี่ยประมาณ 5-15 เซนติเมตร กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ผลสุกโดยทั่วไปมีเปลือกสีเหลือง แต่อาจมีสีเขียวหรือแดงก็ได้แล้วแต่พันธุ์ กล้วยส่วนใหญ่ที่เรารับประทานไม่มี เมล็ด ทั้งนี้เพราะผลกล้วยเกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการ parthenocarpy คือ การเกิดเนื้อได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ เนื้อส่วนใหญ่นั้นเกิดจากขอบ นอกของร่องของรังไข่ การขยายตัวของผนังกั้นรังไข่และแกนกลาง และขยายไปทั่วรังไข่จนกระทั่งผลแก่ ไข่หรือโอวุลมีการหดตัวลงในระยะแรกและจะเห็นเป็นเม็ดสีน้ำตาลเล็กๆ ฝัง อยู่ในเนื้อเมื่อผลแก่ แต่ใช่ว่ากล้วยจะไม่มีเมล็ดเสียทั้งหมด เพราะหากได้รับการผสมจากละอองเกสรที่มากพอ กล้วยก็จะมีเมล็ดได้เหมือนกัน การปรับปรุงพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์กล้วย คือการทำให้เกิดการพัฒนาทางพันธุกรรม เพื่อให้สามารถป้องกันโรคต่างๆ ได้ ซึ่งมีหลายวิธี โดยอาจเกิดเองตามธรรมชาติ เช่น การผสมข้ามสายพันธุ์โดยแมลง นก ค้างคาว เป็นต้น หรือเกิดการกลายพันธุ์เนื่องจากอากาศแปรปรวน หากต้นที่เกิดขึ้นแข็งแรงดีก็ จะมีชีวิตรอดอยู่ได้ (natural selection) หรืออาจเกิดจากมนุษย์ที่จะผสมพันธุ์กล้วยให้มีลักษณะตามที่ต้องการ หรือเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้วิธีต่างๆ ได้แก่ การใช้สารเคมี ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนโครโมโซมขึ้นเป็นเท่าตัว การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซมเป็นแห่งๆ (point mutation) จากเดิมที่มีลักษณะไม่ต้านทานโรค เปลี่ยนเป็นต้านทานโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่ ต้องการ การใช้รังสี การกลายพันธุ์ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการปรับปรุงโดยใช้การตัดต่อทางพันธุกรรม การปรับปรุงพันธุ์กล้วยส่วนใหญ่ในประเทศไทยใช้วิธีทำให้เกิดการกลายพันธุ์โดยใช้ทั้งรังสีและสารเคมี
ประโยชน์ของกล้วย GMO
การตัดต่อยีนในการสังเคราะห์ชิ้นส่วนของโปลิโอไวรัสเข้าไปไว้ในกล้วย
ทำให้คนในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีกำลังซื้อวัคซีนโปลิโอ สามารถนำกล้วย GMO นี้ไปบริโภคเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโปลิโอได้ และเทคโนโลยีการตัดต่อยีนที่จะทำให้เรามีวิธีผลิตวัคซีน ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ และผลิตยารักษาโรค รวมทั้ง สารอาหาร ที่จะมีราคาย่อมเยาลงไปมาก และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น กล้วยที่มีวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงอยู่ในตัว น้ำนมที่มีสารป้องกันโรคมาเลเรีย
ทำให้คนในประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีกำลังซื้อวัคซีนโปลิโอ สามารถนำกล้วย GMO นี้ไปบริโภคเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโปลิโอได้ และเทคโนโลยีการตัดต่อยีนที่จะทำให้เรามีวิธีผลิตวัคซีน ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ และผลิตยารักษาโรค รวมทั้ง สารอาหาร ที่จะมีราคาย่อมเยาลงไปมาก และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น กล้วยที่มีวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงอยู่ในตัว น้ำนมที่มีสารป้องกันโรคมาเลเรีย
กล้วยดัดแปลงพันธุกรรมพัฒนาเพื่อให้สร้างวัคซีน
กล้วยที่มีรสเหมือนแอปเปิ้ล
มีนักวิทยาศาสตร์ ได้คิดค้น พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมขึ้นมา โดยใช้ ยีนของแอปเปิ้ล มาถ่ายลงกล้วยเป็นกล้วยที่มีรสเป็นแอปเปิ้ล โดยรูปลักษณ์ภายนอกทั้งหมด เป็นกล้วย แต่เมื่อปลอกเปลือกออกมารสชาติที่ได้ คือ แอปเปิ้ล
กล้วยหอม
กล้วยหอม การดัดแปลงทางพันธุกรรมในกล้วยหอมในปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาความต้านทานต่อโรค Black Sigatoka disease จากเชื้อรา และยังคงมีการทดลองในโรงเรือนเท่านั้น ยังไม่มีกล้วยหอมดัดแปลงพันธุกรรมออกวางจำหน่ายในท้องตลาด
1. การเกษตร คือ การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์พืช การตัดแต่งยีน ตัวอย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วย การตัดแต่งยีนเพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต้านทานต่อศัตรูพืชหรือโรคพืช เราสามารถพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้คุณลักษณะของพืชที่ดีตามที่มนุษย์ต้องการ เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีลักษณะทนต่อความแห้งแล้งได้ดี สามารถปลูกในที่ที่ขาดน้ำซึ่งเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความ
สามารถในการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร เช่น สี และขนาด รวมถึงรูปร่างผลผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการได้อีกด้วย เช่น การปรับปรุงพันธุ์กล้วยให้มีสีเหลืองสดและมีปริมาณเนื้อกล้วยสูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตให้อยู่ได้นานเนื่องจากการสุกงอมช้า สามารถส่งไปขายได้ไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น กล้วยที่ยืดอายุการสุกงอม เป็นต้น
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรได้ เนื่องจากสามารถยืดระยะเวลาไม่ให้เกิดความเสียหายในการขนส่งระยะทางไกลได้
สามารถในการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร เช่น สี และขนาด รวมถึงรูปร่างผลผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการได้อีกด้วย เช่น การปรับปรุงพันธุ์กล้วยให้มีสีเหลืองสดและมีปริมาณเนื้อกล้วยสูง เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตให้อยู่ได้นานเนื่องจากการสุกงอมช้า สามารถส่งไปขายได้ไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น กล้วยที่ยืดอายุการสุกงอม เป็นต้น
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรได้ เนื่องจากสามารถยืดระยะเวลาไม่ให้เกิดความเสียหายในการขนส่งระยะทางไกลได้
2. อุตสาหกรรมอาหาร คือ การเพิ่มคุณค่าผลผลิตของอาหาร ตัวอย่างเช่น การลดปริมาณโคเลสเตอรอลในไข่แดง การทำให้โคและสุกรเพิ่มปริมาณเนื้อ
3. เทคโนโลยีการแพทย์เพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การผลิตวัคซีนป้องกันโรค การผลิต
โมโนโคลนอลแอนติบอดีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและการเยียวยารักษา การใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอตรวจสอบโรคทางพันธุกรรม การผลิตยาจากผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต
เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมพืชที่ไม่อันตราย
รูป เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมพืชที่ไม่อันตราย
อ้างอิง
www.doctor.or.th/node/4318